วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์สร้างหมอกและความชื้น(ULEM)


ยูเล็ม ULEM ย่อมาจาก  Ultra Low Energy Mist โดยรศ.ดร ปองวิทย์ ศิริโพธิ์ เป็นผู้คิดค้นและพัฒนาขึ้นเป็นคนแรกของโลก การทำงานของยูเล็ม ใช้หลักการณ์สร้างหมอกน้ำจากแรงเหวี่ยงของจานหมุน ไม่ใช้หัวฉีด ทำให้ยูเล็มมีจุดเด่น กว่าระบบสปริงเกลอร์ ตรงที่ ใช้น้ำอะไรก็ได้ไม่มีการตัน อีกทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปั้มน้ำ

ยูเล็มได้ถูกพัฒนาขึ้นมาหลายรุ่น จนถึงปัจจุบัน  อาจารย์ปองวิทย์และบ้านเห็ด ได้แก้ไขข้อเสียของยูเล็มรุ่นก่อนๆ ตลอดจนได้พัฒนาจานยูเล็มขึ้นมาใหม่ล่าสุด  คือจานยูเร็มรุ่นมีขน จานยูเล็ม
รุ่นนี้จะมีขนขึ้นโดยรอบจาน ทำให้การทำงานของยูเล็มเป็นไปได้หลาย ลักษณะงาน  ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานเช่น ใช้ให้ความชื้นในโรงเพาะเห็ด  ใช้ให้ความชื้นและรดน้ำในเรือนกล้วยไม้ หรือใช้รดน้ำ ใส่ปุ๋ย ฉีดพ่นย่าฆ่าแมลงในแปลงผัก และใช้ลดความร้อนในปศุสัตว์เป็นต้น


ยูเล็มในโรงเรือนเพาะเห็ด

  

        ยูเล็มเหมาะสำหรับ

  • การปลูกผักตามแนวคิด"เกษตรอัตโนมัติ" และCITY FARM รดนำ้เอง พ่นยาเอง และใส่ปุ๋ยเองอย่างอัตโนมัติ
  • เรื่อนเพาะชำ เรือนกล้วยไม้
  • สถานที่ๆไม่ค่อยมีน้ำแห้งแล้ง ต้องใช้น้ำอย่างประหยัด
  • โรงเห็ดทุกชนิด
  • ควบคุมฝุ่นละอองและความร้อน ทั้งคนและปศุสัตว์
  • ตึกเลี้ยงนกนางแอ่น

  • วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

    โรงเพาะเห็ดอัตโนมัติ

    โรงเห็ดอัตโนมัติ
    โรงเห็ดอัตโนมัติ ต่อยอดจากการคิดค้นอุปกรณ์สร้างหมอกน้ำ/น้ำฝอยยูเล็ม -ULEM (Ultra Low Energy Mist)  โรงเห็ดอัตโนมัติได้ออกแบบให้มีขนาดบรรจุก้อนเชื้อเห็ดประมาณ 1 000ก้อน  ขนาดโรงเห็ด= ก2.40xย2.40xส2.50เมตร โครงสร้างทำด้วยเหล็กชุบสังกะสีทั้งหลัง และคุมด้วยผ้าใบ Supper Blue Sheet อย่างดีตัดเย็บเข้ารูปกับโครงสร้าง มีประตูเข้าทางด้านหน้าและหลัง การระบายอากาศใช้พักลมเล็ดขนาด 5นิ้วจำนวน 6 ตัว และให้ความชื้นโดย ยูเล็ม จำนวน 4ตัว การทำงานเป็นอย่างอัตโนมัติ โดยมีการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของยูเล็ม และพัดลมระบายอากาศ ให้ทำงานหรือหยุดการทำงานตามเวลา ที่กำหนด  สามารถเพาะเห็ดได้ทุกชนิด ไม่ว่าเห็ดในเขตร้อนหรือเขตหนาว เช่นเห็ด โคนญิปุ่น เห็ดหัวลิง เห็ดหลินจือ เห็ดนางฟ้า เห็ดโอรินจิ เห็ดหูหนู และเห็ดอื่นๆ เป็นต้น

    โรงเห็ดอัตโนมัติ เหมาะสำหรับ

    1. การเพาะเลี้ยงเห็ดก้อนทุกชนิด
    2. เพาะเห็ดในรูปแบบอุตสาหกรรม
    3. โครงการอาหารกลางวันโรงเรียน โครงการเสริมรายได้และสร้างอาชีพชุมชน
    4. โครงการหมู่บ้านเห็ด  หรือการเพาะเลี้ยงเห็ดหลายๆชนิดในที่เดียวกัน โดยมีโรงเห็ดหลายๆโรงและกำหนดให้แต่ละโรงทำงานแตกต่างกัน  ในเรื่อง อากาศ ความชื้น และอุณหภูมิ เพื่อให้เหมาะกับเห็ดในชนิดนั้นๆ
    5. ครอบครัว ที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ในเมือง ที่ต้องการเพาะเห็ดเพื่อการเรียนรู้ จนเป็นอาชีพได้